เบอร์น้ำมันเครื่อง…กับเรื่องที่ควรรู้??

หลายๆคนรู้จัก น้ำมันเครื่อง กันดีอยู่แล้ว โดยเฉพาะผู้ใช้รถทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็น รถยนต์ หรือ รถจักรยานยนต์ ต่างก็รู้จักเป็นอย่างดี แต่ตัวเลขที่อยู่บนตัวถังน้ำมันเครื่องนั้น บอกอะไรกับเราบ้าง?…
นั่นคือการวัดความต้านทานการเป็นไข โดยวัดตั้งแต่อุณหภูมิต่ำกว่า 20 องศาเซลเซียส ต่ำลงมาจนถึงจุดเยือกแข็ง ตั้งแต่ 0 จนถึงต่ำกว่า -30 องศาเซลเซียส โดยระบุเป็นตัวอักษร ” W “

0W = สามารถคงความข้นใสไว้ได้ต่ำกว่า – 30 องศาเซลเซียส โดยไม่เป็นไข
5W = สามารถคงความข้นใสไว้ได้ถึง – 30 องศาเซลเซียส โดยไม่เป็นไข
10W= สามารถคงความข้นใสไว้ได้ถึง – 20 องศาเซลเซียส โดยไม่เป็นไข
15W= สามารถคงความข้นใสไว้ได้ถึง – 10 องศาเซลเซียส โดยไม่เป็นไข
20W= สามารถคงความข้นใสไว้ได้ถึง 0 องศาเซลเซียส โดยไม่เป็นไข

ในส่วนเรื่องค่า ความหนืด การวัดค่าความหนืดจะวัดกันที่ 100 องศาเซลเซียส ได้เป็นออกมาเป็นค่าความหนืด แทนค่าออกมาเป็นตัวเลขเรียกว่า ” เบอร์ของน้ำมันเครื่อง ” เพื่อให้เป็นมาตรฐานสากลเหมือนกันทั่วโลก ทุกๆสถาบันจึงได้แทนค่าความหนืด ออกมาเป็นตัวเลขในรูปของเบอร์ของน้ำมันเครื่อง เช่น 60, 50, 40, 30, 20, 10 และ 5 ค่าตัวเลขยิ่งมากยิ่งมีความหนืดมาก ตัวเลขน้อยยิ่งมีความหนืดน้อยตามลำดับ

ประเภทของ น้ำมันเครื่อง มีอะไรบ้าง

1. น้ำมันเครื่องเกรดเดี่ยว หรือแบบพื้นฐาน

น้ำมันเครื่องเกรดเดี่ยว หรือแบบพื้นฐานนี้ จะมีค่าความหนืดที่เหมาะสม กับ อุณหภูมิเดียวตามฉลากบนแกลอน เช่น SAE 50 หรือ SAE40 ซึ่งหมายความว่า น้ำมันเครื่องชนิดนี้จะปกป้องเครื่องยนต์ได้ดีที่สุด ที่อุณหภูมิ 50 หรือ 40 องศา ตามที่ระบุไว้

ซึ่งแบบนี้จะเหมาะกับรถรุ่นเก่าๆ ที่ใช้รอบเครื่องยนต์ต่ำๆ หรือประเทศเขตร้อนอย่างบ้านเรา ข้อดี คือ ราคาถูก แต่ไม่เป็นที่นิยมเพราะอายุการใช้งานสั้น

2. น้ำมันเครื่องเกรดรวม หรือ Multi Grad

น้ำมันเครื่องเกรดรวม หรือ Multi Grad เป็นน้ำมันเครื่องที่สามารถเปลี่ยนแปลงค่าความหนืดได้ เช่น ในอุณหภูมิสูง ก็จะมีความใส พออุณหภูมิต่ำลง ก็ยังสามารถคงความข้นใสเอาไว้ได้ เพื่อให้เหมาะสมกับการเลือกใช้ ในทุกอุณหภูมิของเครื่องยนต์

สังเกตง่ายๆ คือจะระบุค่าความหนืดมาให้ 2 ตัว โดยมีตัวอักษร W คั่นกลาง เช่น SAE 20W50 หรือ API 15W40 เป็นต้น ซึ่งปัจจุบันเป็นแบบที่นิยมใช้มากที่สุด หาซื้อได้ทั่วไป นิยมใช้กับรถรุ่นใหม่

3. น้ำมันเครื่องสังเคราะห์ หรือ “Synthetic”

น้ำมันเครื่องสังเคราะห์ หรือ “Synthetic”  คือ น้ำมันเครื่องที่ผลิตจาก น้ำมันแร่ ซึ่งได้จากกระบวนการทางปิโตรเลี่ยม เพื่อให้มีคุณสมบัติพิเศษ กว่าน้ำมันแร่ทั่วไป เช่น ความคงทนต่อการทำปฏิกิริยา กับออกซิเจนในอากาศ อายุการเปลี่ยนถ่าย และ การใช้งานนานขึ้น มีอัตราการระเหยต่ำลดปัญหาการสิ้นเปลืองหล่อลื่น รวมถึงแบบ กึ่งสังเคราะห์ (Semi-Synthetic) ที่ผลิตจากการนำน้ำมันแร่มาผสมกับน้ำมันพื้นฐานสังเคราะห์ เพื่อเสริมคุณสมบัติให้ดีขึ้น กว่าน้ำมันเครื่องทั่วไป และมีราคาถูกกว่าน้ำมันเครื่องสังเคราะห์

รถยนต์แต่ละประเภท จะใช้ค่าความหนืดต่างกัน
สำหรับรถยนต์ที่ยังใหม่ ควรเลือกน้ำมันเครื่องที่มีค่าความหนืดต่ำ เช่น 30 เป็นต้น
สำหรับรถยนต์ที่ผ่านการใช้งานมานาน ควรเลือกน้ำมันเครื่องที่มีค่าความหนืดสูง เช่น 40 หรือ 50 เป็นต้น

นอกจากการดูค่าความหนืดแล้ว เพื่อนๆอาจยังต้องดู ชนิดของน้ำมันเครื่อง , ยี่ห้อ และ ราคาประกอบการตัดสินใจซื้อไปด้วย

หากต้องการหาน้ำมันเครื่องสักอัน สามารถเลือกซื้อได้ที่เว็บไซต์GOZOMALL หรือ คลิกเลย https://bit.ly/3zuwGrD